( ให้บริการตั้งแต่ พ.ศ. 2556 )
การทำไฟล์อาร์ตเวิร์กปฏิทินพร้อมพิมพ์ สำหรับพิมพ์ได้ทันที ไม่ต้องแก้ไขงานหลายครั้ง ต้องทำอย่างไร ?
ส่งไฟล์งานปฏิทินให้กับ สวัสดี ออนไลน์ สำนักพิมพ์ รับรองว่าไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน ทำตามไปทีละขั้นตอนนะครับ เมื่อส่งไฟล์งานมาถึงเราจะสามารถตีพิมพ์ได้เลย ได้รับงานรวดเร็วทันใจ ทันเวลาแจกลูกค้าครับผม
ถาม : ทำไม สวัสดี ออนไลน์ สำนักพิมพ์ จึงไม่แก้ไฟล์งานปฏิทินให้ลูกค้าบ้างล่ะคะ
ตอบ : แก้แล้วครับ แต่ละปีเราแก้แบบให้ลูกค้าเยอะมาก แต่บางงานไม่สามารถแก้ใขได้ เช่น เราไม่เข้าใจงานเท่ากับคนออกแบบ หรือไม่มีไฟล์ต้นฉบับให้เราแก้ไขครับ
ถาม : แล้วใช้โปรแกรมอะไรออกแบบปฏิทินคะ
ตอบ : ใช้ได้ทุกโปรแกรมของ Adobe ครับ ดีที่สุดคือ Adobe Indesign เพราะเป็นโปรแกรมออกแบบสิ่งพิมพ์โดยตรง ใช้งานสะดวก ง่ายกว่าเยอะ ส่วน Adobe IlIustrator เป็นโปรแกรมสำหรับวาดภาพประกอบเท่านั้น ซึ่งอาจจะมีคุณสมบัติในการทำงานสิ่งพิมพ์ แต่ไม่ใช่โปรแกรมสำหรับทำสิ่งพิมพ์โดยตรง เช่นเดียวกับ Adobe Photoshop สามารถใช้ทำปฏิทินได้เช่นกัน แม้ว่าจะเป็นโปรแกรมตกแต่งภาพ แต่โปรแกรมที่ไม่ควรใช้คือ โปรแกรมสเปรดชีต เช่น ไมโครซอฟต์ เอ็กเซล เพราะไม่มีคุณสมบัติทางด้านกราฟิก เป็นโปรแกรมคำนวณและทำงานเอกสารครับ
1. ตั้งขนาดไฟล์งานตามนี้นะครับ
ปฏิทินขนาด 8*6 นิ้ว ตั้งขนาดไฟล์ 210*155 มิลลิเมตร
ปฏิทินขนาด 9*7 นิ้ว ตั้งขนาดไฟล์ 234.5*180.5 มิลลิเมตร
ถาม : ทำไมจึงไม่ตั้งขนาดไฟล์งานที่ 8*6 นิ้ว หรือ 9*7 นิ้ว ให้พอดีเป๊ะๆ เลยล่ะคะ ?
ตอบ : ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ต้องเผื่อไปถึงขั้นตอนการตัดงาน ที่อาจคลาดเคลื่อนได้ประมาณ +3 หรือ - 3 มิลลิเมตร จำเป็นต้องเผื่อไว้สำหรับป้องกันความผิดพลาด ซึ่งอาจทำให้องค์ประกอบสำคัญขาดหายระหว่างการตัดงาน ดังนั้นขนาดไฟล์งานพร้อมพิมพ์ จึงเป็นขนาดไฟล์งานที่เผื่อการแฉลบของใบมีดระหว่างตัดแล้วครับ
จากภาพเป็นไฟล์ตัวอย่างที่เราทำขึ้น เส้นกรอบสีแดงคือเส้นตัดตก วัดออกจากพื้นที่ทำงานด้านละ 3 มิลลิเมตร เส้นสีฟ้าคือระยะปลอดภัย วัดเข้าจากพื้นที่ทำงานด้านละ 3 มิลลิเมตรเช่นกัน สังเกตหางนกทางด้านขวา เกินจากระยะปลอดภัย พื้นที่ทำงาน และเส้นตัดตกออกไป อาจจะแก้ไขโดยการเลื่อนภาพเข้ามาอยู่ในกรอบ หรือปล่อยให้ถูกตัด (แล้วแต่ทางลูกค้า) ส่วนใบไม้ทางด้านบน ซ้าย ล่าง สามารถตัดได้ เพราะถึงตัดพลาดลึกเข้ามา งานโดยรวมก็ไม่เสียหาย
2. ตั้งระยะปลอดภัยด้วยนะครับ
ถาม : ระยะปลอดภัยคืออะไรคะ
ตอบ : ระยะปลอดภัยคือระยะเผื่อสำหรับการตัดที่อาจจะคลาดเคลื่อนได้ เพื่อองค์ประกอบสำคัญต่างๆ ของปฏิทินจะยังอยู่ครบ เมื่อผ่านขั้นตอนตัดงาน ก่อนเข้าเล่มเป็นตัวงานปฏิทินครับ
ปฏิทินทุกขนาด ขอให้เว้นระยะปลอดภัย ลึกเข้ามาจากพื้นที่ทำงาน ด้านละ 3 มิลลิเมตร (ถ้านับจากเส้นตัดตกคือด้านละ 6 มม.) ยกเว้นเฉพาะด้านบนซึ่งเป็นด้านร้อยห่วง วัดลึกเข้ามาประมาณ 15 มิลมิเมตร
ในการออกแบบ องค์ประกอบสำคัญทั้งหมดบนหน้าปฏิทิน (ส่วนสำคัญต่างๆ เช่น ตารางวันที่ วัน เดือน ปี ชื่อบริษัท ที่อยู่ ข้อความต่างๆ ภาพประกอบ ฯลฯ) ขอให้อยู่ในกรอบระยะปลอดภัย (เส้นสีฟ้า) สิ่งที่เกินออกมาจากระยะปลอดภัยได้ ต้องเป็นสิ่งที่สามารถตัดพลาดไปโดนได้ โดยปฏิทินไม่เกิดความเสียหาย (เช่น ฉากหลัง สีพื้นหลัง ฯลฯ)
3. การใช้สี CMYK ไม่เกิน 200% และการผสมสี
ถาม : โหมดสี CMYK คืออะไรคะ
ตอบ : เป็นโหมดผสมสีสำหรับงานสิ่งพิมพ์ เรียกกันง่ายๆ ว่าการพิมพ์แบบ 4 สี เป็นการใช้สีฟ้า, สีบานเย็น, สีเหลืองสด, สีดำ ผสมเข้าด้วยกันจนกลายเป็นสีต่างๆ มีข้อจำกัดในการแสดงสีมากกว่าโหมด 3 สี หรือ RGB (ที่ใช้กับจอโทรทัศน์, จอคอมพิวเตอร์, จอโทรศัพท์มือถือ) สีที่ได้จะไม่สดเท่ากับสีบนหน้าจอ (ไม่สามารถเปรียบเทียบกับสีบนจอภาพได้) โดยมากสีมักจะเพี้ยนต่างกันประมาณ 10 - 20%
ในการออกแบบงานสิ่งพิมพ์ ขอให้พิจารณาถึง "ค่าสีของแต่ละช่องสี" ที่ไม่ควรมีค่ารวมกันมากกว่า 200% ซึ่งส่งผลให้สีแห้งช้า และที่สำคัญทำให้สีเพี้ยนได้ง่าย
การเลือกใช้สีแต่ละเฉด ไม่ควรเกิดจากการผสมกันของสี 4 ช่องสี แต่ควรจะเกิดจากการผสมระหว่าง 2-3 ช่องสี (และดีที่สุดคือ 2 ช่องสี) โดยค่ารวมกันทั้งหมดไม่ควรเกิน 200% ดังภาพ
ตัวอย่าง สีน้ำเงินในภาพประกอบ
เฉดแรก เกิดจากการผสมกันของช่องสี (แชนเนล) ทั้ง 4 ตัว คือ C M Y และ K แถมค่าสีรวมกันมากกว่า 200% มีโอกาสที่งานพิมพ์จะเกิดสีผิดเพี้ยนสูง เฉดสอง ใช้เพียง 2 ช่องสีผสมกัน คือ C กับ M ค่าสี รวมกัน 190% มีโอกาสที่สีจะผิดเพี้ยนน้อยกว่ามาก
ข้อแนะนำ :การออกแบบปฏิทินโดยใช้สีอ่อนๆ มักได้งานออกมาดูดีกว่าการใช้สีโทนเข้ม เพราะเมื่อไฟล์งานได้รับการตีพิมพ์ สีที่ได้ออกมามักจะทึบแสงกว่าสีที่แสดงบนหน้าจอครับ
4. การครีเอทฟอนต์ (create outline) และเรื่องของลิขสิทธิ์ฟอนต์
การครีเอท เอาท์ไลน์ สำหรับฟอนต์ (ตัวอักษร) ที่ต้องการนำมาใช้ในงานออกแบบสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ ปฏิทิน หรืออื่นๆ ในบางกรณีที่ทางโรงพิมพ์ไม่มีฟอนต์นั้นๆ เช่น เป็นฟอนต์ที่ไม่ได้ซื้อลิขสิทธิ์ อาจจะเกิดการผิดพลาดได้ง่าย ในเรื่องการทดแทนฟอนต์ เช่น หากไม่มีฟอนต์บางตระกูล ฟอนต์นั้นๆ อาจถูกแทนที่ด้วยฟอนต์ประเภทอื่น ซึ่งจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดเมื่อเข้าสู่กระบวนการพิมพ์
การครีเอทฟอนต์คือการแปลงฟอนต์นั้นๆ ให้กลายเป็นกราฟิกเวกเตอร์ ซึ่งยังคงความคมชัด ปรับขยายได้เช่นเดียวกับฟอนต์ปกติ สามารถทำได้ในโปรแกรมตระกูล Adobe ต่างๆ ครับ
สำหรับในเรื่องของลิขสิทธิ์ฟอนต์ ทางที่ดีควรเลือกใช้ฟอนต์ฟรี ซึ่งมีอยู่มากมายในปัจจุบัน ฟอนต์ฟรีหลายตัวมีความสวยงาม สามารถใช้กับงานออกแบบได้ดี
ในการละเมิดลิขสิทธิ์ฟอนต์ โดยมากมักเป็นความผิดของผู้ว่าจ้างให้เกิดการจัดพิมพ์นั้นๆ หากไม่ซื้อลิขสิทธิ์ฟอนต์ การเลือกใช้ฟอนต์ฟรีเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุดครับ
5. Save as เป็น PDF ส่งไฟล์ได้เลย
เรารับงานเป็นไฟล์ PDF ที่ตั้งค่าคุณภาพสำหรับงานสิ่งพิมพ์ คือ Press Quality เท่านั้น สำหรับตัวเลือก High Quality Printing เป็นคุณภาพสำหรับการพิมพ์ด้วยปรินเตอร์ครับ
เพียง 5 ข้อเท่านั้นก็สามารถสร้างไฟล์งานปฏิทินพร้อมพิมพ์ได้แล้ว ไม่ยากเลย เรารอชมปฏิทินสวยๆ จากฝีมือลูกค้าของเราอยู่ครับ
สามารถดาวน์โหลดไกด์ปฏิทินสำเร็จรูป ในรูปแบบไฟล์ PDF ที่ตั้งขนาดไฟล์งาน เส้นตัดตก และระยะปลอดภัยแล้ว โดยคลิกที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ครับ
ดาวน์โหลดไกด์ปฏิทิน 8*6 นิ้ว แนวนอน
ดาวน์โหลดไกด์ปฏิทิน 8*6 นิ้ว แนวตั้ง
ดาวน์โหลดไกด์ปฏิทิน 9*7 นิ้ว แนวนอน
ดาวน์โหลดไกด์ปฏิทิน 9*7 นิ้ว แนวตั้ง
บริการของเรา
รับพิมพ์หนังสือ รับทำหนังสือ
รับออกแบบอีบุ๊ค ทำสิ่งพิมพ์อิเล็คทรอนิคส์
ทำปฏิทิน 2567 พิมพ์ปฏิทินตั้งโต๊ะ
ทำปฏิทิน 2567 พิมพ์ปฏิทินแขวน
พิมพ์โบรชัวร์ พิมพ์แผ่นพับ
ออกแบบฉลากสินค้าพร้อมจัดพิมพ์
ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ทำแพคเกจจิ้ง
รับทำเว็บไซต์
เนื้อหาออนไลน์
อีบุ๊คทั้งหมดของเรา
นิตยสารโกง
วารสาร Good morning
ออฟฟิศคาเฟ่
วีรบุรุษลูกทุ่ง
Zombie Buzz
ช่องทางติดต่อ
สวัสดี ออนไลน์ สำนักพิมพ์
michaelleahai@gmail.com
Tel:
085 395 9493
,
099 738 4765
Line:
mike_h
,
@jxl0412a